ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูหน้าที่ของงานพัสดุ

 

มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. งานจัดซื้อ จัดจ้าง เช่า งานจ้างที่ปรึกษา 
        จ้างออกแบบและควบคุมงาน จัดทำสัญญาและแก้ไขสัญญา จัดทำหนังสือ รับรองผลงาน เบิกจ่ายเงินค่าจัดซื้อ จัดจ้าง เช่า คืนค้ำประกันซองและคืนค้ำประกันสัญญา แต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาและคณะกรรมการกำกับดูแลที่ปรึกษา เบิกจ่ายเงินค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างล่วงหน้า แจ้งเรียกค่าปรับและสงวนสิทธิ์ค่าปรับ คืนหลักประกันสัญญา และหลักประกันผลงาน  ซึ่งวิธีการดำเนินการจัดหา  มี  3 วิธี ดังนี้

1. วิธีเฉพาะเจาะจง

2. วิธีคัดเลือก

3. วิธีประกาศเชิญชวน

 

2. งานทะเบียนผู้รับจ้าง

        การรับจดทะเบียนผู้รับจ้างงานก่อสร้าง การตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติผู้รับจ้าง การเลื่อนชั้นประเภทการจดทะเบียนผู้รับจ้าง การต่ออายุทะเบียนผู้รับจ้าง การจัดทำบัญชีทะเบียนผู้รับจ้าง

 
3. งานคุมคลังพัสดุ

        ควบคุมการเบิกจ่ายเก็บรักษาตรวจสอบ การโอน การยืม การจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพหรือไม่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์ในทางราชการ ทำบัญชีทะเบียนครุภัณฑ์ บัญชีทะเบียนทรัพย์สิน บัญชีเบิกจ่ายพัสดุ ใบเบิก / ใบส่งคืน (ใบ 4 สี) ใบเบิกภายใน  ดำเนินการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ การขอใช้ การส่งคืน การโอน การขออนุญาตรื้อถอน ส่งมอบทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้างให้ส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่ใช้ทรัพย์สินเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษา

 

4. งานอาคารและสถานที่

         ซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ดูแลการใช้ห้องประชุม งานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รักษาความสะอาดและความปลอดภัย ควบคุมกำกับ ดูแลมาตรการประหยัดพลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน

 

 5. งานยานพาหนะ

         ควบคุมจัดหารถยนต์ให้เพียงพอต่อภารกิจของส่วนราชการ ซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ จัดทำประวัติการจดทะเบียน การต่อทะเบียน การโอนรถยนต์ รวบรวมสถิติการใช้น้ำมัน

เชื้อเพลิง 

 

6. งานบันทึกข้อมูลผ่านระบบ GFMIS

         การดำเนินการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อ/จัดจ้าง/เช่า เข้าสู่ระบบอิเลคทรอนิกส์ GFMIS Terminal และ Web Online ดำเนินการสร้างและเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขาย ดำเนินการสร้างรหัสสินทรัพย์รายตัวให้กับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดำเนินการขยายและกันเงินไว้เบิกเหลี่ยมปี

 

7. งานตรวจสอบรับ-จ่ายพัสดุประจำปี

1.  ก่อนวันที่ 30 กันยายน ของทุกปีให้หัวหน้าส่วนราชการออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งหรือ

หลายคนตามความจำเป็น ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทำการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่วันที่  1 ตุลาคมปีก่อน   จนถึงวันที่ 30 กันยายน  ปีปัจจุบัน และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น ตามระเบียบฯ ข้อ 155

                2.  เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีที่ได้รับแต่งตั้ง  จะต้องดำเนินการตรวจสอบพัสดุโดยเริ่มตั้งแต่วันทำการแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่  มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป   แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อผู้แต่งตั้งภายใน 30 วันทำการนับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุ  โดยรายงานผลการตรวจสอบพัสดุทั้งวัสดุและครุภัณฑ์ให้หัวหน้าส่วนราชการ  และหัวหน้างานพัสดุ  ทราบต่อไป

                3.  เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี   ให้ส่งรายงานไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินส่วนภูมิภาค จำนวน 1 ชุด    โดยจัดส่งไปเฉพาะคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีและรายงานผลการตรวจสอบพัสดุ สำหรับรายการพัสดุที่ชำรุด เสื่อมสภาพหรือสูญไปให้เก็บไว้รอการตรวจสอบที่หน่วยงาน

                4.  เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ได้รับรายงานดังกล่าวและปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง  เว้นแต่กรณีที่เห็นได้ว่าเป็นการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้

                5.  เมื่อหัวหน้าส่วนราชการได้รับรายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ปรากฏว่าพัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในการปฏิบัติราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายตามวิธีที่ระเบียบพัสดุ  ข้อ  157   กำหนดไว้ ดังนี้

                                    5.1      ขายให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน   เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้

                                    5.2      แลกเปลี่ยน  กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

                                    5.3      โอน ให้ส่วนราชการอื่น  รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

                                5.4      แปรสภาพหรือทำลาย  การแปรสภาพ เช่น เก้าอี้นักเรียนชำรุด จำนวน 10 ตัว ก็นำขาและพนักพิงมาแปรสภาพจัดทำเป็นเก้าอี้ตัวใหม่  หรือนำเครื่องพิมพ์ดีดที่ชำรุดใช้งานไม่ได้มาแปรสภาพเป็นวัสดุฝึกแต่ถ้าหากโดยสภาพของพัสดุผุพัง ไม่สามารถนำไปแปรสภาพได้ก็ให้ทำลายโดยการเผา หรือ ฝัง เป็นต้น

                        เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุ  ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี ตามระเบียบฯ ข้อ 158  โดยปกติจะนำเงินจากการจำหน่ายพัสดุ ส่งแผ่นดินซึ่งถือเป็นรายได้แผ่นดิน ไม่ว่าพัสดุนั้นจะซื้อมาด้วยเงินรายได้  หรือ เงินแผ่นดิน

                        การจำหน่ายพัสดุเป็นสูญ   ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดหรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ  หรือมีตัวพัสดุแต่ไม่สามารถดำเนินการจำหน่ายตามวิธีตามข้อ 1.1-1.4  ได้ ก็ให้จำหน่ายเป็นสูญ       ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน  500,000  บาท ให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติได้เลย ถ้าพัสดุมีราคาซื้อรวมกันเกิน  500,000  บาท  ให้อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่กระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ  ตามระเบียบฯ ข้อ 159

                        6.  การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน หลังจากที่ได้ดำเนินการจำหน่ายแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที  แล้วแจ้งให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุ

 

รายการเอกสารหลักฐานการจำหน่ายพัสดุประจำปี  ที่จะต้องแจ้งให้กระทรวงการคลังและสำนักงาน

ตรวจเงินแผ่นดิน  ทราบ  ให้ส่งสำเนาเอกสาร ดังนี้   (ส่งอย่างละ 1  ชุด)

                        1.    คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำ

                        2.    รายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี

                        3.    คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง

                        4.    รายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริง

                        5.    รายงานขออนุมัติจำหน่าย พร้อมวิธีการจำหน่ายและคำสั่งอนุมัติให้จำหน่าย

                        6.    คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจำหน่ายพัสดุ

                        7.    รายงานผลการจำหน่ายพัสดุ

                        8.    สำเนาใบเสร็จรับเงินที่แสดงการนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

 

 

 

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและการจำหน่ายพัสดุประจำปี

1.  หน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

                        1.1  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หรือคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 155  (ห้ามแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี)

                        1.2  พิจารณารายงานผลการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบพัสดุประจำปี

                        1.3  กรณีมีพัสดุชำรุดเสื่อมสภาพ และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเสื่อมสภาพ เนื่องจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญหายไปตามธรรมชาติ  ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง

                        1.4  กรณีที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีพัสดุชำรุด  เสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป  หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไป

                       1.5  แต่งตั้งกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง (ตามระเบียบฯ ข้อ 156)

                        1.6  พิจารณารายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริง จากกรรมการฯ

                                -  กรณีไม่ต้องหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง  สั่งการให้เจ้าหน้าที่พัสดุ  ตรวจสอบสภาพพัสดุและเสนอวิธีการจำหน่าย  แล้วพิจารณาอนุมัติให้จำหน่าย  แจ้งให้กระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคทราบต่อไป

                                    -  กรณีต้องหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง  ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง

2.  หน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุ

                        2.1  จัดเตรียมรายการทะเบียนครุภัณฑ์ของหน่วยงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่อการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี

                        2.2  อำนวยความสะดวกให้กับคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี ในการตรวจสอบพัสดุ

                        2.3  เสนอความเห็นเกี่ยวกับวิธีการจำหน่ายพัสดุ  ชำรุดเสื่อมสภาพ  เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการ

                        2.4  เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการจำหน่ายพัสดุ ชำรุดเสื่อมสภาพ ต่อหัวหน้าส่วนราชการ

                        2.5  ลงจ่ายพัสดุฯ  ตามที่ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน

                        2.6  รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจสอบพัสดุประจำปี รายงานให้ กระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบ 

3.  หน้าที่กรรมการตรวจสอบพัสดุ

                        3.1  ตรวจการรับการจ่ายของพัสดุ  ของงวดตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  ปีก่อน ถึง  30  กันยายน  ปีปัจจุบัน ว่าถูกต้องหรือไม่

                        3.2  ตรวจนับจำนวนวัสดุคงเหลือ  ณ  วันที่  30  กันยายน  เฉพาะวัสดุที่ยังไม่เบิกไปใช้ว่าคงเหลือตางตามบัญชีวัสดุหรือไม่  (วัสดุที่ยังไม่ได้นำไปใช้)

                        3.3  ตรวจนับจำนวนครุภัณฑ์ที่มีอยู่ทั้งในหน่วยงาน  ณ วันที่  30  กันยายน  ว่ามีครุภัณฑ์คงเหลือและมีความถูกต้องตามทะเบียนครุภัณฑ์ที่ได้บันทึกไว้หรือไม่  และตรวจสภาพของครุภัณฑ์ที่มีอยู่ทั้งหมดในหน่วยงานว่ามีความชำรุด เสื่อมสภาพ  หรือสูญไป  เพราะเหตุใด  หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการ

                        3.4  จัดทำรายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี   ต่อผู้แต่งตั้ง  ภายใน 30  วันทำการ  โดยนับตั้งแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุ

4.  หน้าที่ของคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง

                        4.1  ตรวจสอบสภาพพัสดุ  ที่ชำรุด เสื่อมสภาพ  สูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการ  ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ เสนอหรือไม่

                            4.2  พิจารณาว่าพัสดุแต่ละรายการที่ชำรุด  เสื่อมสภาพ  หรือสูญไป นั้น  เพราะสาเหตุใด  และต้องมีผู้รับผิดทางแพ่งหรือไม่  โดยสอบถามจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้พัสดุนั้น  และจะต้องตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การซ่อมแซม  บำรุงรักษาพัสดุนั้น

หน้าที่งานรับส่ง 

       หน้าที่งานรับส่ง เป็นงานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บ รักษา การยืมจนถึงการทำลาย คลอบคลุมงานเกี่ยวกับเอกสารทั้งหมด ซึ่งเป็นการกำหนดขั้นตอนและขอบข่ายของงานสารบรรณเริ่มตั้งแต่การคิด อ่าน ร่าง เขียน แต่ง พิมพ์ จด จำ ทำสำเนา ส่ง หรือสื่อข้อความ รับ บันทึก จดรายงานการประชุม สรุปย่อเรื่อง เสนอ สั่งการ ตอบ ทำรหัส เก็บเข้าที่ ค้นหา ติดตามและทำลาย

มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

1. รับ-ส่งเอกสาร 

    - ลงรับหนังสือราชการและเอกสารต่างๆ

    - ลงทะเบียนหนังสือเข้าทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์                                                                                                                                          

    - ตรวจสอบหนังสือราชการและเกษียณเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับต่อไป                                                                                                            

    - จัดส่งเอกสารไปยังหน่วยงานภายในและภายนอก                                                                                                                                                    

    - ออกเลขหนังสือภายใน , ภายนอก , เลขคำสั่ง , ประกาศ ฯลฯ

2. เสนอหนังสือ

    - เสนอหนังสือผู้บริหาร

    - จัดเวียนหนังสือให้บุคลากรทราบ

    - ควบคุมดูแลหนังสือราชการและเอกสารต่างๆ

3. การจัดเก็บเอกสารและการทำลายที่หมดอายุการใช้งาน

4. โต้ตอบหนังสือไปยังหน่วยงานภายในและภายนอก

5. จัดพิมพ์งานของหน่วยสารบรรณ 

6.  ให้บริการรับ-ส่ง จดหมายและพัสดุไปรษณีย์แก่บุคลากร 

7.  ต้อนรับ ติดต่อ ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั่วไป

8. ประสานงานแจ้งชื่อผู้ไปร่วมกิจกรรมวันสำคัญ ๆ ของโรงพยาบาล      

9. การจัดประชุมประจำเดือนและประชุมอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

    - ส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุม 

    - ติดตาม ดูแล ความเรียบร้อยในการประชุม 

    - ดำเนินการประชุม/บันทึกรายงานการประชุม แจ้งมติไปยังผู้เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานการประชุม

หน้าที่และรับผิดชอบงานใน หน่วยงานเลขานุการผู้บริหาร 

 

ทำหน้าที่และรับผิดชอบงานใน หน่วยงานเลขานุการผู้บริหาร 
 
หน้าที่และความรับผิดชอบในหน่วยงานเลขานุการผู้บริหาร
 
1. หน่วยงานเลขานุการผู้บริหาร :
 
1.1 งานกลั่นกรองหนังสือราชการ เสนอหนังสือราชการ และเอกสารอื่นๆ
1.2 งานร่างโต้ตอบหนังสือราชการ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
1.3. งานประสานงานบุคคล และหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร ภายนอก
1.4 งานติดตามผลการดำเนินการ ตามคำสั่งการของผู้บริหาร
1.5 งานจัดวาระนัดหมายเข้าพบผู้บริหาร เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
1.6 งานจัดทำอนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงานมหาวิทยาลัย ในประเทศ /ต่างประเทศ
1.7 งานจัดเตรียมเอกสาร จัดพิมพ์ สำเนา
1.8 งานต้อนรับ และรับรองแขกของผู้บริหาร ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
1.9 งานจัดหาของที่ระลึก สำหรับอาคันตุกะ และในโอกาสต่างๆ
1.10 งานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย : งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรฯ งานเลี้ยงแสดงความยินดีดุษฎี บัณฑิต ช่วยงานพิเศษอื่นๆ ตามสถานการณ์
 
2. หน่วยงานบริหารทั่วไป :
 
2.1.งานการเงินและงบประมาณ
- วางแผน ควบคุม ติดตามประเมินผล การใช้งบประมาณ
- จัดทำบัญชี และควบคุมเงินหมุนเวียนภายในงาน / จัดบัญชีควบคุมเงินกลุ่มผู้บริหาร
- จัดใบสำคัญตั้งหนี้ ฎีกาเบิกจ่าย
 
2.2. งานพัฒนาสารสนเทศ
จัดทำปรับปรุงWebsite งานเลขานุการผู้บริหาร
- จัดทำปฎิทินการปฏิบัติงานผู้บริหาร / เลขานุการผู้บริหาร ประจำปี (work plan)
- จัดทำโปรแกรมนัดหมายประจำวัน
- จัดทำโปรแกรมลงทะเบียนเลขหนังสือออกของงาน
- จัดทำข้อมูลกลาง งานเลขานุการผู้บริหาร
 
2.3. งานบริหารจัดการงานเอกสาร
ลงทะเบียน รับ-ส่ง หนังสือภายในงาน และระหว่างหน่วยงาน
- การจัดเก็บเอกสารของผู้บริหาร หน่วยงาน
การควบคุม รับ-ส่งเอกสาร ภายใน และภายนอกองค์กร ให้ผู้บริหาร
การควบคุมดูแลครุภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงโยกย้าย โอน แทงชำรุด ภายในงาน
- การดูแลรักษาอุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องสแกนเนอร์ ฯลฯ
การจัดหา /จัดวาง /จัดเก็บ /หนังสือพิมพ์รายวัน วารสารแนะนำมหาวิทยาลัย
 
2.4. งานบริหารจัดการงานครัว และงานทั่วไป
 
- ดูแลเตรียมห้องประชุม เตรียมอาหารจัดเลี้ยง
- ดูแลความสะอาดพื้นที่บริเวณภายในงาน ประสานงานเปลี่ยน ต้นไม้ อุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด
- เปิด-ปิดสวิชท์ -ไฟฟ้า / เครื่องปรับอากาศ ประตูเข้า-ออก
- จัดหาเครื่องดื่ม สำหรับเสริฟ แขกของผู้บริหาร
- ดูแลอุปกรณ์ เครื่องครัว ยาสามัญประจำบ้าน
- ดูแลห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์
- การจัดแจกันดอกไม้ ตามจุดที่กำหนด (บริเวณโต๊ะรับแขก ห้องรับรอง)
 
 
งานสื่อสารประชาสัมพันธ์

      ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเผยแพร่นโยบาย  ผลงาน  ความเคลื่อนไหวด้านบริการ และกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร  ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกทุกระดับชั้นอย่างมีประสิทธิภาพ  และตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวัตถุประสงค์  

๑) เชื่อมความสัมพันธ์อันดี

๒) สร้างความเชื่อถือ

๓) เสริมสร้างภาพลักษณ์  

๔) ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อองค์กร

โดยได้รับมอบหมายให้ดำเนินการและปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ดังนี้.-             

                     ๑. ออกแบบและผลิตสื่อแผ่นพับ  ใบปลิว  โปสเตอร์  ป้ายธงญี่ปุ่นและอื่น ๆ

                     ๒. ออกแบบ – จัดบอร์ดแสดงผลงานและกิจกรรมขององค์กร

                                                ผู้บริหารโรงพยาบาล  และกรมการแพทย์

                                                แสดงผลงานและกิจกรรมของเจ้าหน้าที่

                     ๓. ติดประกาศเรื่องต่าง ๆ

                     ๔. เผยแพร่ข้อมูลและผลงานขององค์กร/เจ้าหน้าที่ทางสื่อมวลชน

                     ๕. จัดทำข้อมูลผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร /กลุ่มงาน – ฝ่าย/เจ้าหน้าที่ เพื่อเผยแพร่ทางจอพลาสม่าและประสานศูนย์คอมพิวเตอร์ในการลงเว็ปไซด์โรงพยาบาล

                     ๖. ตรวจเช็คและสรุปข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับโรงพยาบาล  กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุขและแวดวงการแพทย์และสาธารณสุข

                     ๗. ประสานและรวบรวมข้อมูลในการจัดทำวารสารโรงพยาบาล

                     ๘. ตอบข้อซักถาม – แนะนำบริการเบื้องต้น

                     ๙. ติดต่อ – ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ

                   ๑๐. ให้บริการเกี่ยวกับการจองห้องพิเศษ

                   ๑๑. รับ – โอนและประสานงานทางโทรศัพท์ทั้งภายในและภายนอก

                   ๑๒. ประสานงานและโทรตามแพทย์ – เจ้าหน้าที่อื่น ๆ

                   ๑๓. ประกาศ – เปิดเสียงตามสาย

                   ๑๔. เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร – ประสานงานกรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤติและฉุกเฉินต่าง ๆ

                   ๑๕.  รับ – ส่งหนังสือ

                   ๑๖.  ร่าง – พิมพ์หนังสือ

                   ๑๗.  ติดต่อ – ประสานงานการออกอากาศรายการวิทยุ “คลินิกรักษ์สุขภาพ”

                   ๑๘.  รวบรวม – สรุปความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้ป่วยและผู้มาใช้บริการ