นวัตกรรม : “Healthty note”
ชื่อเจ้าของผลงานนางสาวนพรัตน์ เจริญศรี ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
หน่วยงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแม่ไก่
หลักการและเหตุผล
จากการดำเนินงานใน คลินิกไร้พุง(DPAC)รพ.สต.หนองแม่ไก่ พบว่า ประชาชนผู้มารับบริการ ต้องได้รับคู่มือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการลดอ้วน ลดพุง ซึ่งได้มี สมุดประจำตัว ที่ชื่อว่า “คลินิกไร้พุง”ของเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข อำเภอโพธิ์ทอง ซึ่งขนาดของเล่มค่อนข้างจะใหญ่ ขนาด A4 พกพาค่อนข้างยาก รายละเอียดของเนื้อหาค่อนข้างมาก ซึ่งเมื่อถึงกำหนดในการชั่งน้ำหนักในแต่ละสัปดาห์ ผู้รับบริการที่ได้รับสมุดประจำตัว จะไม่ค่อยได้เอาสมุดมาด้วย เพราะไม่สะดวกในการพกพา ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงคิดประดิษฐ์ นวัตกรรม “Healthty note” ซึ่งเป็นสมุดที่ใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการลดน้ำหนักในคลินิกไร้พุง(DPAC)ของ รพ.สต.หนองแม่ไก่ ซึ่งเนื้อหากระชับขึ้น มีภาพประกอบ ขนาดเล็กและพกพาได้ง่าย เพื่อความสะดวกของผู้มารับบริการ
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้ผู้รับบริการมีคู่มือในการลดน้ำหนัก
2 เพื่อให้ผู้รับบริการมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับบริการในคลินิกไร้พุง(DPAC)รพ.สต.หนองแม่ไก่จำนวน 20 คน
วิธีดำเนิน
1. ทบทวนสิ่งประดิษฐ์จากฐานข้อมูล
2. คิดประดิษฐ์นวัตกรรม “Healthty note”
3. ทดลองใช้นวัตกรรม “Healthty note”
4. ประเมินผลการใช้นวัตกรรม
วัสดุ อุปกรณ์
1.คอมพิวเตอร์ และเครื่องปริ้นสี
2. กระดาษขาว A4 และ กระดาษสี ขนาด A4 80 กรัม
3. แม็คเย็บกระดาษ
ขั้นตอนการทำนวัตกรรม
1. ศึกษาข้อมูล
2. ประชุมปรึกษาหารือหรือคิดค้นนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3. ออกแบบนวัตกรรมให้เหมาะสมกับปัญหาที่พบ
4. ประชุมและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
5.ลงมือทำนวัตกรรม
- ทำการศึกษาข้อมูลในการลดน้ำหนัก พร้อมทั้งเลือกเนื้อหาที่จะใช้เป็นส่วนประกอบของเล่ม ทำการออกแบบทำในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขนาด A 4 แบ่งเป็น 2 คอลัมน์ จำนวน 2 แผ่น ในเล่มมีเนื้อหาดังนี้ 1. หน้าปก 2. เกณฑ์ดัชนีมวลกาย/การคำนวณ/การวัดรอบเอว 3. แผนการรับประทานอาหารประจำวัน 4. อาหารแลกเปลี่ยนในแต่ละหมวด 5. ประเภทอาหารที่ควร/ไม่ควรรับประทาน การออกกำลังกาย 6. ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม น้ำหนัก/ส่วนสูง รอบเอว การออกกำลังกาย ในแต่ละสัปดาห์ เมื่อทำการออกแบบเสร็จแล้วทำการปริ้นเป็นภาพสี หน้า- หลัง นำกระดาษที่ปริ้นออกมาได้ ทั้ง 2 แผ่น พับครึ่ง และเย็บเล่ม จะได้จำนวนทั้งหมด 8 หน้า
ก่อน
หลัง
การศึกษา
เมื่อนำนวัตกรรม “Healthty note” ไปทดลองใช้กับผู้มารับบริการใน คลินิก DPAC รพ.สต.หนองแม่ไก่ พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ กับสมุดประจำตัว เล่มใหม่ที่คิดค้นขึ้น เนื้อหากระชับ อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบ สีสันสวยงาม และพกพาได้สะดวกขึ้น และมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ซึ่งมีผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้
ตารางที่ 1ผลการดำเนินงานกิจกรรมคลินิกไร้พุง (DPAC) รพ.สต.หนองแม่ไก่เดือน ตุลาคม-เมษายน 2562
การเข้าโครงการ
ประเมินภาวะโภชนาการ
ประเมิน (คน)
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์/ผอม (คน)
สมส่วน
(คน)
น้ำหนักเกิน
(คน)
โรคอ้วน
(คน)
โรคอ้วนอันตราย
(คน)
ก่อนเข้าโครงการ
20
0
0
10
4
6
หลังเข้าโครงการ
20
0
7
4
6
3
ผลการดำเนินการคลินิกไร้พุง (DPAC) รพ.สต.หนองแม่ไก่พบว่าผู้เข้าเข้ากิจกรรมมีแนวโน้มภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
แผนภูมิที่ 1 แผนภูมิสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมคลินิกไร้พุง (DPAC) รพ.สต.หนองแม่ไก่
เดือน ตุลาคม-เมษายน 2562
โรคอ้วน
น้ำหนักเกิน
สมส่วน
โรคอ้วนอันตราย
ผอม
จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่าสมาชิกคลินิกไร้พุง (DPAC) รพ.สต.หนองแม่ไก่มีแนวโน้มภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
หมายเหตุ: เกณฑ์การประเมินภาวะโภชนาการ
- ภาวะโภชนาการ หมายถึง สภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการคลินิกไร้พุง (DPAC) รพ.สต.หนองแม่ไก่ ที่มีผลมาจากการบริโภคอาหาร/การออกกำลังกาย โดยใช้ดัชนีมวลกาย (BodyMassIndex) BMI เป็นดัชนีชี้วัดที่ใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการ โดยคำนวณได้จากสูตร ดังนี้
BMI =
น้ำหนัก (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (เมตร )(2)
- ภาวะโภชนาการปกติ
ถ้าค่าอยู่ระหว่าง 18.5 - 22.9 กิโลกรัม / (เมตร )(2) แสดงว่า สมส่วน
- ภาวะโภชนาการต่ำกว่ามาตรฐาน
ผอมหรือน้ำหนักต่ำกว่าถ้ามีค่าน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/ (เมตร )(2) แสดงน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
- ภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน
ถ้าค่าอยู่ระหว่าง 23 - 24.9 กิโลกรัม/ (เมตร)(2) แสดงว่า น้ำหนักเกิน
ถ้าค่าอยู่ระหว่าง 25 - 29.9 กิโลกรัม/ (เมตร)(2) แสดงว่า โรคอ้วน
ถ้ามีค่าตั้งแต่ 30 กิโลกรัม/(เมตร )(2)ขึ้นไป แสดงว่า โรคอ้วนอันตราย
ตารางที่ 2ผลการคัดกรองประชาชนวัยทำงานอายุ 30-44 ปี จำแนกเป็นรายปี 2558 – 2562
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
2558
2559
2560
2561
2562
(ต.ค.-ธ.ค.62)
2562
(ต.ค.-เม.ย.62)
1. วัยทำงานอายุ 30-44 ปี มีค่าดัชนีมวล
กายปกติ
65%
16.72
44.12
58.24
83.05
54.82
56.81
หมายเหตุ สรุปผล ณ 30 เมษายน 2562
แหล่งศึกษาค้นคว้าของนวัตกรรม
กรมอนามัย. กระบวนการจัดการคลินิกไร้พุง. พิมพ์ครั้งที่ 1นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2557.
ชนิดา ปโชติการ และคณะ. การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558
งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี: หจก.เมตตาก๊อปปี้
ปริ้น; 2558.
พัทธนันท์ ศรีม่วง. อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด
เอ็มแอนด็เอ็มเลเซอร์ปริ้นต์; 2555.
รุจิรา สัมะสุต. หลักการปฏิบัติโภชนบำบัด.พิมพ์ครั้งที่ 3 ปราจีนบุรี: สุพัตราการพิมพ์; 2552.
กลุ่มงานโภชนศาสตร์ รพ.ราชวิถี.อาหารแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน.[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://110.164.68.234/nutrition_6/index.php/en/2016-03-21-10-18-59(20 ตุลาคม 2562)
หมอเถื่อน.กินอย่างไรให้น้ำหนักลด.[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://winnerthai.blogspot.com/2017/02/blog-post_14.html(20 ตุลาคม 2562)
โรงพยาบาลบางประกอก 9.วิธีการคำนวณดัชนีมวลกาย.[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.bangpakokhospital.com/care_blog/content/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2BMI(20 ตุลาคม 2562)
ตารางที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจ “Healthty note”
ข้อ
ความคิดเห็น
คะแนน
เต็ม
คะแนน
ที่ได้
ร้อยละ
1
ท่านพึงพอใจกับ รูปแบบ ขนาด ของนวัตกรรม
100
93
93.00
2
ท่านพึงพอใจกับความสะดวก ในการพกพา
100
97
97.00
3
ท่านพึงพอใจกับเนื้อหา อ่านเข้าใจง่าย ภาพประกอบ สีสันสวยงาม
100
98
98.00
4
ท่านพึงพอใจกับประโยชน์ในการใช้งาน
100
92
92.00
รวม
400
380
95.00
แผนการพัฒนา
- ปรับปรุงนวัตกรรมให้มีความสวยงาม หรือเนื้อหาความรู้อื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประโยชน์ในการการใช้งานต่อไป
- นำไปเผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายสุขภาพอำเภอโพธิ์ทองเพิ่มขึ้นหรือหน่วยงานในองค์กรอื่นๆต่อไป