นวตกรรมไม้ไผ่ 4.0

ศ, 2018-12-28 11:17 -- admin
วันที่: 
ศุกร์, ธันวาคม 28, 2018 - 11:15
สถานที่: 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเจ้าฉ่า

นวตกรรมไม้ไผ่ 4.0

ผลงานนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ประจำปี 2562

 

ชื่อผลงาน                  ไม้ไผ่ 4.0

ประเภทนวัตกรรม         นวัตกรรมด้านผลิภัณฑ์ (Product Innovation Project)

สรุปผลงานโดยย่อ         ไม้ไผ่ 4.0 คือการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนามาจากแนวความคิดการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อในร่างกาย  ซึ่งแหล่งที่มาของนวัตกรรมนี้คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน ผสมผสานกับการเรียนรู้ผ่านทางเทคโนโลยีจากสื่อออนไลน์ มาเป็นไม้ไผ่ 4.0 ซึ่งไม้ไผ่ 4.0 นั้นได้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารร่างกาย ทางผู้ศึกษาได้ทำการทดลองใช้กับกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเรื่องการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และข้อต่อจำนวน 32 ราย พบว่า หลังจาการใช้ไม้ไผ่ 4.0 ในการบริหารร่างกาย ติดต่อเป็นเวลา  4  เดือน  มีผู้ที่สามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อลดลงร้อยละ

วัตถุประสงค์

          1. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          2. เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อโดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน

แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม

หลักการและเหตุผล

          ผู้ศึกษาได้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข และ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยให้บริการนวดแผนไทย การฟื้นฟูกล้ามเนื้อและข้อต่อ การบริบาลหญิงหลังคลอด  การใช้ยาสมุนไพร และการให้ความรู้เรื่องการแพทย์ให้กับกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบ

จาการสังเกตผู้รับบริการที่มารรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเจ้าฉ่าด้วยอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเข่า ปวดบ่า ไหล่ และหลัง ทั้งเชิงรับและเชิงรุกในชุมชน พบว่าผู้รับบริการจะมาขอรับยาแก้ปวดข้อและคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำมักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย เนื่องจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน และเมื่อได้ทำการซักประวัติเรื่องของการดูแลสุขภาพพบว่า ขาดการออกกำลังกาย ขาดการดูแลตนเอง  อย่างเหมาะสม ประกอบกับตำบลบางเจ่าฉ่ามีภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการจักสานไม้ไผ่ที่โด่งดัง ร่วมกับมีทรัพยากรในท้องถิ่นคือ ไม้ไผ่สีสุก อีกทั้งผู้ศึกษา มีความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและอาศัยอยู่ภายในตำบลบางเจ้าฉ่า จึงได้มีเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาไม้ไผ่ 4.0 ขึ้นเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยใช้ไม้ไผ่ 4.0 ในการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ส่งผลให้ทุกกลุ่มผู้รับบริการที่กล่าวมาข้างต้นมีสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคตในตำบลบางเจ้าฉ่าเป็นหมู่บ้านจักสานซึ่งมีไม้ไผ่สีสุกเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนสามารถหาได้ง่ายโดยไม่ต้องลงทุนสูง และจากการศึกษาความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้สูงอายุในชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมทั้งศึกษาทางอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ต่างๆ จึงมีการพัฒนานวัตกรรมไม้ไผ่ 4.0 ขึ้นได้โดย ซึ่งกระบวนการการจัดทำได้มีที่ปรึกษา คือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเจ้าฉ่า ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำท้องถิ่น รวมถึงภาคีเครือข่ายในตำบลบางเจ้าฉ่า

สิ่งทีคาดว่าจะได้รับ       

          ผู้รับบริการกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ มีสุขภาพที่ดีขึ้นลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการให้การรักษาพยาบาล

สมมุติฐาน

          กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ มีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อลดลงเมื่อใช้ไม้ไผ่ 4.0

กิจกรรม/กระบวนการการพัฒนานวัตกรรม

รูปแบบของกิจกรรม /กระบวนการ

 การใช้ไม้ไผ่ 4.0 ใช้ในกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆในบริเวณร่างกายซึ่งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลบางเจ้าฉ่าอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ร่วมกับได้รับการประเมินความปวด (Pain Score) อยู่ในระดับ 2 – 5 คะแนน อีกทั้งไม่ได้รับยาแผนปัจจุบันกลุ่มบรรเทาอาการปวด จำนวน 32  คน

ที่ได้รับเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดังนี้

1.กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อได้รับการประเมินความปวด (Pain Score) อยู่ในระดับ 2 – 5 คะแนน อีกทั้งไม่ได้รับยาแผนปัจจุบันกลุ่มบรรเทาอาการปวด     

ขั้นตอนการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

1.ผู้ศึกษาประชุมบุคลากรในหน่วยงานเพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินงานศึกษา

2. สำรวจกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อที่มารับบริการที่รพ.สตและในชุมชนซึ่งได้รับการประเมินความปวด (Pain Score) อยู่ในระดับ 2 – 5 คะแนน อีกทั้งไม่ได้รับยาแผนปัจจุบันกลุ่มบรรเทาอาการปวดจำนวน 32 คน

3.ผู้ศึกษาพบกลุ่มเป้าหมายตามคุณสมบัติที่กำหนดและ ทำการแนะนำตัวแจ้งวัตถุประสงค์ของการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

                   เครื่องมือในการศึกษาประกอบ 2 แบบ

                   1.   แบบประเมินความปวด (Pain Scale)  คือ

1.1 แบบประเมินแบบ Scale โดยแบ่งเป็นระดับความปวด ตั้งแต่ 1 – 10 คะแนนโดยมีรายละเอียดดังนี้

           0     คะแนน             หมายถึง         ไม่มีความปวดเลย

           1 – 2  คะแนน          หมายถึง          ปวดแบบยอมรับได้

           3 - 4 คะแนน                     หมายถึง          มีอาการปวดเล็กน้อยพอทนได้

           5 – 6  คะแนน          หมายถึง          ปวดระดับปานกลาง         

           6 – 9 คะแนน            หมายถึง          ปวดมากจนอาจต้องได้รับยาบรรเทาอาการปวด

             10  คะแนน               หมายถึง          ปวดมากจนทนไหวต้องพบแพทย์  

2.ไม้ไผ่ 4.0

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

1. ไม้ไผ่สีสุก          2. สายยาง         3. มีด เลื่อย           4. เชือกไนล่อน       5. สว่าน         6. กระดาษทราย          7. กาวตราช้าง

วิธีการทำ

1. นำไม้ไผ่สีสุกส่วนที่เป็นโคนมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 80-90 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสม

2. นำไม้ไผ่มาผ่าซีก และใช้มีดถากส่วนที่เป็นด้านมือจับให้มีขนาดพอดี

3. นำกระดาษทรายมาขัดไม้ไผ่ทั้งอันเพื่อลดคมของไม้ไผ่

4. ใช้สว่านเจาะรูส่วนปลายของไม้ไผ่ทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 2 รู

5. ตัดสายยางให้เป็นท่อนยาวประมาณ 35 เซนติเมตร และตัดเชือกยาวประมาณ 80 เซนติเมตร

6. นำเชือกไนล่อนมาร้อยสายยาง และนำไปสอดในรูที่เจาะไว้ทั้ง 2 ข้าง

7. ผูกปมเชือกทั้ง 2 ข้าง ให้แน่น

8. นำเชือกไนล่อนมาพันด้านมือจับเพื่อป้องกันการลื่น

วิธีการใช้

ท่าที่ 1 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อช่วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง โดยวางส้นเท้าไว้ในห่วงยางแล้วดึงล็อคที่ส้น

เท้า เหยียดขาตรง แล้วจับส่วนที่เป็นด้ามจับพร้อมดึงไม้เข้าหาลำตัว นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ 2 บริหารหัวเข่า งอหัวเข่าขึ้นลง แล้วดึงไม้เข้าหาลำตัว นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ 3 บริหารต้นขา ยกขาขึ้นลงสลับกัน นับ 1-10

ท่าที่ 4 ลดอาการกล้ามเนื้อขาตึง โดยใช้ท่านอน และวางส้นเท้าไว้ในห่วงยาง ยกขาขึ้นค้างไว้

30-60 องศา แล้วดึงไม้เข้าหาตัว ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ ๕ นวดแก้ไหล่ติด โดยเอาไม้พาดไว้บนหัวไหล่ ใช้มือจับบริเวณปลายทั้ง 2 ด้าน พร้อมโยกไม้

ขึ้นลงบริเวณไหล่ นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ 6 นวดแก้ปวดเอวและหลัง โดยเอาไม้ไว้ข้างหลัง ใช้มือจับบริเวณปลายทั้ง 2 ด้าน พร้อม

ยกขึ้นลงนับ1-10

การดำเนินการศึกษา

          ขั้นตอนการดำเนินการศึกษา

ผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาการเปรียบเทียบอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อก่อนและหลังการใช้ไม้ไผ่ 4.0ในกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ที่ แบ่งการดำเนินการวิจัย เป็น 3 ระยะดังนี้

1. ระยะเตรียมการ

      ผู้ศึกษาตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา คือ แบบประเมินความปวด และไม้ไผ่4.0

2. ระยะดำเนินการศึกษา

       2.1  ผู้ศึกษาแจ้งกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการศึกษาและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรับทราบว่าใช้ไม้ไผ่4.0ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ จำนวน 32 คน 

2.2  เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา จำนวน 32  คน  ผู้ศึกษาได้ประเมินความปวด ก่อนการใช้ไม้ไผ่ 4.0  1 วัน

2.3  ผู้ศึกษาได้ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวการการใช้ไม้ไผ่ 4.0 ที่บ้านของกลุ่มเป้าหมาย และในสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเจ้าฉ่า และชมรมผู้สูงอายุ โดยมีการใช้ไม้ไผ่ 4.0 ในการบริหารร่างกาย เป็นจำนวน 6 ท่า คือ

ท่าที่ 1 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อช่วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง โดยวางส้นเท้าไว้ในห่วงยางแล้วดึงล็อคที่ส้นเท้า เหยียดขาตรง แล้วจับส่วนที่เป็นด้ามจับพร้อมดึงไม้เข้าหาลำตัว นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ 2 บริหารหัวเข่า งอหัวเข่าขึ้นลง แล้วดึงไม้เข้าหาลำตัว นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ 3 บริหารต้นขา ยกขาขึ้นลงสลับกัน นับ 1-10

ท่าที่ 4 ลดอาการกล้ามเนื้อขาตึง โดยใช้ท่านอน และวางส้นเท้าไว้ในห่วงยาง ยกขาขึ้นค้างไว้ 30-60 องศา แล้วดึงไม้เข้าหาตัว ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ ๕ นวดแก้ไหล่ติด โดยเอาไม้พาดไว้บนหัวไหล่ ใช้มือจับบริเวณปลายทั้ง 2 ด้าน พร้อมโยกไม้ขึ้นลงบริเวณไหล่ นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

ท่าที่ 6 นวดแก้ปวดเอวและหลัง โดยเอาไม้ไว้ข้างหลัง ใช้มือจับบริเวณปลายทั้ง 2 ด้าน พร้อมยกขึ้นลงนับ1-10

โดย ใช้ท่าบริหารนี้ทำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ กรกฎาคม 2561

3.ระยะประเมินผลการศึกษา

หลังสิ้นสุดการใช้ไม้ไผ่ 4.0 ครบ 4 เดือนผู้ศึกษาประเมินผลการศึกษาโดยทำการประเมินระดับความปวดเข่าในกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินความปวด (Pain Scale)

การสรุปผลข้อมูล

ผู้ศึกษานำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยนำคะแนนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและหลัง การใช้ไม้ไผ่ 4.0 ในกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้สูงอายุผู้สูงอายุ มาคำนวณสถิติ คือร้อยละของการลดความปวดพบว่า จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 32 ราย ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงจำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.50และไม่ลดปวดจำนวน 4ราย คิดเป็นร้อยละ 12.50ดังแสดงตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงผลการใช้นวัตกรรมไม้ไผ่ 4.0 

กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(คน)

ความปวด

ลดลง(คน)

ร้อยละ

ไม่ลดลง(คน)

ร้อยละ

32

28

87.50

4

12.50

 

 

แบบสำรวจ

ท่านพึงพอใจ เนื้อหาส่วนใดของเว็บไซต์ ?