วิสัยทัศน์/พันธกิจ

ภารกิจ บทบาทหน้าที่ของงาน  

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง

. งานควบคุมโรคโรคติดต่อทั่วไป

     ๑.๑ งานป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

          ๑) ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ  เอกชน ชุมชน เพื่อการป้องกัน ควบคุมโรค

           ๒) จัดหาและสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           ๓) บันทึก On hand ผ่านระบบ VMI เรื่องวัสดุ เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่  อุบัติซ้ำ  ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

           ๔) ควบคุม กำกับ และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           ๕) เตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดฉุกเฉิน

           ๖) จัดประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรค

           ๗) ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดของโรค

           ๘) ซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรองรับการควบคุมการระบาดของโรค

 ๙) ฝึกอบรม  ให้คำปรึกษา  ข้อแนะนำในการปฏิบัติงาน  แก่เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ  ตำบล

 ๑๐) สวบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค  ตามแนวทางการควบคุมโรค

 ๑๑) สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย ผ่านทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

 ๑๒) เป็นวิทยากรให้ความรู้ แก่หน่วยงานและสถานประกอบการ

 ๑๓) นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ควบคุมโรคของสถานบริการ/โรงพยาบาล

      ๑.๒ งานโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

           ๑) ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ  เอกชน ชุมชน ในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์เผยแพร่ความรู้ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

           ๒) จัดหาและสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 ๓) สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย ผ่านทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

๔) สวบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค ตามแนวทางการควบคุมโรค

๕) รวบรวม และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      ๑.๓  งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน   มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

          ๑) ประสานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ

          ๒) ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทุกระดับ

           ๓) ติดตามและประเมินผลงานงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

          ๔) ควบคุม กำกับ ผลงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ในระบบคลังข้อมูล HDC

           ๕) กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เก็บรวบรวมจำนวนเป้าหมายตั้งเป็นยอดเป้าหมาย เสนอขอการสนับสนุนจากส่วนกลาง  และจัดสรรในรายโรงพยาบาล  โดยมีการดำเนินการประสานยอดการจัดสรรที่ได้รับตอบกลับตามโรงพยาบาล และส่งตามระบบ VMI ของโรงพยาบาล 
                   ๖) สำรวจความต้องการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและรวบรวมเพื่อขอการสนับสนุนจากส่วนกลาง
                   ๗) จัดทำทะเบียนระบบ VMI ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และดูแลตรวจสอบระบบ VMI ของเครือข่ายในจังหวัด
          ๘) จัดหาและคงคลังวัคซีนกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

         

. งานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่เฉพาะ

  ๒.๑ งานควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
         ๑) ประสานและสนับสนุนวิชาการด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
         ๒) ติดตามประเมินผล
         ๓) ศึกษาวิจัย/จัดทำฐานข้อมูล/ระบาดวิทยาโรคเอดส์
         ๔) ประสานการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการยุติปัญหาเอดส์จังหวัดอ่างทอง

  ๒.๒ งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
         ๑) การดำเนินการป้องกันควบคุมโรค
               ๑.๑ โรคเลปโตสไปโรซิส
               ๑.๒ โรคพิษสุนัขบ้า

               ๑.๓ โรคอื่น ๆ ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน
         ๒) การสนับสนุนงานโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่นเอกสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว โปสเตอร์  อุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ฯลฯ
  ๒.๓ งานโรควัณโรค  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
           ๑) ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมวัณโรคในระดับจังหวัด
           ๒) ติดตามและประเมินผลงานควบคุมวัณโรคในจังหวัด
           ๓) จัดทำทะเบียนวัณโรคระดับจังหวัด  จัดทำรายงาน การค้นหาผู้ป่วยวัณโรค รายงานผลเสมหะปราศจากเชื้อเมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น รายงานผลการรักษา  และรายงานการดำเนินงานผสมผสานวัณโรคและโรคเอดส์ ของจังหวัด  ให้ผู้ประสานงานระดับเขต
          ๔) จัดประชุม DOT Meeting ๔ ครั้งต่อปี
          ๕) ประสานงานควบคุมวัณโรคภายในและภายนอกจังหวัดและระหว่างหน่วยงานรัฐ
          ๖) เฝ้าระวัง รวบรวมวิเคราะห์ปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่
          ๗) รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลโรควัณโรค
          ๘) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายการเฝ้าระวังโรควัณโรค
 ๒.๔ งานโรคเรื้อน มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) เฝ้าระวัง รวมรวมวิเคราะห์ปัญหาโรคเรื้อนในระดับพื้นที่
          ๒) ประสานงานควบคุมโรคเรื้อนภายใน ภายนอกจังหวัดและระหว่างหน่วยงานภาครัฐและอื่นๆ
          ๓) ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมป้องกันโรคเรื้อน
          ๔) ติดตามและประเมินผลงานควบคุมโรคเรื้อนในจังหวัด
          ๕) ประสานและสนับสนุนยารักษาโรคเรื้อนให้กับพื้นที่

 ๒.๕ โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก(ARIC) มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) ประสานงานควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก(ARIC) ภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด
          ๒) สนับสนุนการจัดรณรงค์ ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนทั่วไป
          ๓) นิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก(ARIC)
 ๒.๖ งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง 
    ๒.๖.๑ งานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) ควบคุมกำกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด
          ๒) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล การระบาดของโรคไข้เลือดออก
          ๓) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.)  สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต
          ๔) สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล สถานศึกษา ศาสนสถาน
          ๕) ประสานงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ประสานงานกับสื่อมวลชนในระดับจังหวัด/ท้องถิ่น ในการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
          ๖) ประชุมวอร์รูมโรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด
          ๗) ประเมินมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล 
          ๘) สนับสนุนสื่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้กับระดับอำเภอ/ตำบล/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สถานศึกษา
          ๙) รวบรวมข้อมูล สรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

   ๒.๖.๒ งานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) ควบคุมกำกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียระดับจังหวัด
          ๒) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล โรคไข้มาลาเรียระดับจังหวัด
          ๓) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) 
          ๔) รายงานผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย
  ๒.๖.๓ งานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) ควบคุม กำกับ การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบ ระดับจังหวัด
          ๒) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบระดับจังหวัด
          ๓) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล/อบต.) กับสำนักงานป้องกันควบคุมโรค             
          ๔) สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบในระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล สถานศึกษา ศาสนสถาน
          ๖) ประสานงานกับสื่อมวลชนในระดับจังหวัด/ท้องถิ่น ในการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์
          ๗) สนับสนุนสื่อการป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบให้กับระดับอำเภอ/ตำบล/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สถานศึกษา    

  ๒.๖.๔ งานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้าง  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
      ๑) ควบคุมกำกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้างระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล  
      ๒) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล การระบาดของโรคเท้าช้างระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบลเฉพาะพื้นที่เสี่ยง
      ๓) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) กับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต 
      ๔) สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้างในระดับจังหวัด

 

. งานสอบสวนโรค (JIT) มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
               ๑) ดำเนินงานตามนโยบาย แนวทางในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค
               ๒) อำนวยการ ควบคุม กำกับ และประเมินปัญหาสุขภาพโรคติดต่อในพื้นที่ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา
               ๓) พัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในจังหวัด
               ๔) เป็นศูนย์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวน ป้องกัน ควบโรค และภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในจังหวัด
               ๕) ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่าง ๆ ให้สนับสนุนทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อการสอบสวน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
               ๖) ตรวจสอบ ยืนยันข้อมูลการวินิจฉัยโรคจากหน่วยงานที่พบผู้ป่วยและแจ้งทีม JIT พื้นที่ที่พบผู้ป่วย         
               ๗) ยืนยันการการระบาดโดยวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและสถานการณ์โรค
               ๘) จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ในกรณีต้องดำเนินการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ
               ๙) จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์สารเคมีสำหรับควบคุมป้องกันโรคและแบบสอบสวนโรค
               ๑๐) ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และผู้สัมผัสโรค
               ๑๑) รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติการรับเชื้อ ประวัติการเดินทางของผู้ป่วย คนในครอบครัวและคนในละแวกเดียวกัน
               ๑๒) สรุปลักษณะรูปแบบการระบาดของโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
               ๑๓) เก็บวัสดุตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อจากผู้ป่วย ผู้สัมผัส สิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหาแหล่งโรค/   รังโรค 
               ๑๔) แจกจ่ายยา  เวชภัณฑ์และเวชภัณฑ์มิใช่ยา ที่ใช้ในการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด  
               ๑๕) ปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลาราชการ (ตามคำสั่งปฏิบัติงานอยู่เวรนอกเวลาและวันหยุดราชการ)
               ๑๖) ประเมินและพัฒนาทีม JIT ทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัด จนถึงพื้นที่ ให้ได้มาตรฐาน

 

. งานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) เฝ้าระวังโรคติดต่อ
          ๒) จัดทำรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำวัน (เฉพาะบางโรคที่มีการระบาด) ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำปี และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
          ๓) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเตือนภัยแก่ผู้เกี่ยวข้อง
          ๔) ควบคุม กำกับ ประเมินผล การดำเนินงานระบาดวิทยาของจังหวัด และอำเภอ
          ๕) พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ทุกระดับ
          ๖) ศึกษาวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมทางด้านระบาดวิทยา

. งานบริหารจัดการภัยพิบัติ  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
          ๑) รายงานและสรุปสถานการณ์การเกิดอุบัติภัย ของจังหวัด
          ๒) ดำเนินงานตามนโยบาย  แนวทางการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับจังหวัด
          ๓) พัฒนาและเตรียมความพร้อมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัด  จนถึง พื้นที่ ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

          ๔) จัดทำแผนและฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับจังหวัด

          ๕) ประสานการฝึกซ้อมแผนภัยพิบัติกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 

 

. งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

          ๑) การจัดทำแผนงานและแนวทางด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อในระดับจังหวัด
          ๒) การส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านวิจัยและวิชาการในระดับจังหวัด
          ๓) การให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานวิจัยและวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ

          ๔) ดำเนินงานศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ
          ๕) ร่วมดำเนินงานศึกษาวิจัยในพื้นที่กับหน่วยงาน/ส่วนราชการต่างๆ

 

๗. งานตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

          ๑) การถ่ายทอดความรู้ เสนอแนะ ให้คำแนะนำ แก่ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ ๒๕๕๘

          ๒) ขับเคลื่อน และประสานงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

          ๓) จัดประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด อย่างน้อย ๒ ครั้ง/ปี

          ๔) พัฒนาศักยภาพเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

 

๘. งานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

          ๑) สนับสนุนคู่มือ / แนวทางการดำเนินงานในพื้นที่

          ๒) จัดประชุมร่วมกับพื้นที่ ชี้แจงการดำเนินงานให้กลุ่มเป้าหมาย

          ๓) จัดอบรมผู้ดูแลเด็ก สนับสนุนวิชาการ และสื่อความรู้

          ๔) นิเทศ/ชี้แนะ การดำเนินงานแก่ศูนย์เด็กเล็ก

          ๕) ประเมินผลการดำเนินงานแก่ศูนย์เด็กเล็กตามข้อกำหนดและเกณฑ์การประเมินรับรองเป็นศูนย์

เด็กเล็กปลอดโรค

          ๖) สรุปผลการดำเนินงานในพื้นที่รับผิดชอบ

 

๙. งานการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ  มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

          ๑) จัดทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศของกลุ่มงาน บน Web site

          ๒) จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ของกลุ่มงานบน Faecbook

          ๓) บันทึกข้อมูลตามโปรแกรม SMS และ Cockpit ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง